3 คำคมจาก 3 พระนักเขียน นักเทศน์ชื่อดัง ที่จะสอนให้ท่านดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

แรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต

ไม่มีใครเล่าความชั่วตัวเองให้คนอื่นฟัง

ดังนั้น
เราจึงไม่ควรฟังความข้างเดียว

– ท่านพุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์ – Buddhadasa) พระนักเทศน์ นักเขียนพระผู้ใหญ่แห่งคณะสงฆ์ไทย

 การดำรงชีวิตในโลกใบนี้สำหรับมนุษย์ปุถุชนธรรมดา สิ่งสำคัญที่สุดคือตัวเองไม่มีใครที่เห็นตัวเองสำคัญกว่าคนอื่นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการดำรงชีวิตของมนุษย์โดยส่วนใหญ่จึงมักจะเต็มไปด้วยการเห็นแก่ตัว ในสังคมปัจจุบัน ที่มีการพัฒนาของเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด แต่เทคโนโลยีไม่ได้ผิดอะไร สิ่งที่ผิดคือตัวมนุษย์เอง ที่มัวสนใจเทคโนโลยีมากเกินไป จนหลงลืมที่จะพัฒนาจิตใจตัวเอง อย่าลืมว่าจิตใจนั้นมีความสำคัญมากพอ ๆ กับสิ่งที่อยู่ภายนอกเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นถ้าลืมฝึกลืมพัฒนาอย่างใดอย่างหนึ่งไป การจะเป็นมนุษย์ก็คงเรียกได้ไม่เต็มปาก

  • การที่ท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวมาอย่างนี้ เป็นการสอนให้คนรู้จัก ฟังหูหนึ่ง ไว้หูหนึ่งเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายแก่ตัวเองและผู้อื่น การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบต้องรู้จักไว้ หากรู้จักฟังเราจะเกิดปัญญาในการไต่ตรองข้อมูลข่าวสารได้ดี อย่างที่ทราบกันดีว่า ในปัจจุบันข้อมูล ข่าวสารไวมาก อยากรู้แบบไหนสามารถรู้ได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้แบบสบาย ๆ แต่ข้อมูลข่าวสารแต่ละอย่าง ขอแนะนำว่าอย่าไปเชื่อทั้งหมด บางข้อมูลเป็นเท็จ บางข่าวสร้างมาเพื่อขายสร้างกำไร โดยที่ไม่รู้เลยว่าคนนั้นเป็นคนดีหรือคนชั่ว
  • ฟัง คิด พิจารณา ในทางพระพุทธศาสนาเองจะสอนให้คนรู้จักใช้ สติ ความหมายของสติ คือการระลึกได้ เวลาจะฟังควรมีสติ ว่าสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ควรน่าเชื่อถือมากเท่าไร อย่าไปเชื่อในทันที หรือทั้งหมด เมื่อมีสติจากการฟังจะนำมาซึ่งการคิด การคิดคือการเพื่อคัดกรอง สิ่งที่ได้ยินว่า ควรเชื่อหรือไม่เชื่อดี เมื่อรู้จักคิดจะนำมาซึ่งการพิจารณา การรู้จักพิจารณาจะนำมาซึ่งปัญญา ซึ่งเป็นแสงสว่างที่จะนำมาซึ่งปัญญา อันเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรมี

คนที่เก่งนั้น มีลักษณะที่ว่า
เจอปัญหาไม่ย่อท้อ
เจอเรื่องที่ต้องทำไม่ถอย
มองเป็นแบบฝึกหัด เอามาฝึกตัวเองให้หมด
ซึ่งจะทำให้มีจิตใจที่ดีด้วย คือมีสุขภาพจิตดี

– สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พระนักเทศน์ นักเขียนพระผู้ใหญ่แห่งคณะสงฆ์ไทย

คนเก่งหรือคนไม่เก่งสามารถดูได้จาก เวลาเจอปัญหาเพราะปัญหาจะเป็นตัวพิสูจน์คนว่ามีความแน่แค่ไหน ถ้ามีความแน่สู้แบบกัดไม่ปล่อยคิดแก้ปัญหาตลอดเวลา จนเปลี่ยนปัญหานั้นเป็นธุรกิจหรือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าแก่มนุษยชาติ แต่คนที่ไม่เก่งจริงเวลาเจอปัญหาเข้ามาทับถมก็เหมือนกับการแบกหิน 10 ตันขึ้นบนภูเขา คือจะมีความยากอยู่ตลอด ไม่ลงมือแก้ไขปัญหา และหนีปัญหาในที่สุด

  • คนเก่ง ไม่ฉลาดคนที่ฉลาดที่สุดแต่เป็นคนที่มีเลือดนักสู้ คือเลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส คนที่เก่งจะมองปัญหาเป็นเหมือนแบบฝึกหัด ที่จะต้องทำถึงทำไม่ได้ในตอนนี้ ก็จะหาทางออกจนทำได้ในที่สุด ขอยกตัวอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงมีคือการหลุดพ้น และแบบฝึกหัดของท่านคือการปฏิบัติ จะเห็นว่าในตอนแรกพระองค์ท่านก็ทรงไม่รู้เช่นกัน แต่ทำไปนาน ๆ เข้าด้วยการมีเลือดนักสู้ วันหนึ่งพระองค์ท่านก็ทรงสำเร็จในที่สุด การไม่ท้อถอยจะนำมาซึ่งความสุขทางกายและทางใจ
  • คนไม่เก่ง ก็ไม่ใช่คนที่โง่ที่สุดในจักรวาล แต่คนเหล่านี้ไม่มีเลือดนักสู้อยู่ในตัว เจอปัญหาหนักหน่อยก็หนี ก็ทิ้งปัญหานั้นไป และคิดว่านั่นเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่ในความเป็นจริงนั้นการกระทำแบบ จะเป็นที่สั่งสมความเขลาของตัวเอง เวลาเจอปัญหา ก็บอกว่าไม่เอาหรอก ฉันทำไม่ได้หรอก ฉันมันกระจอก อ้างสารพัด จนนำมาซึ่งความทุกข์ภายในและภายนอก

ถ้าทำอะไรดีแล้ว คนมองว่าสร้างภาพก็ช่างเขา
อย่างน้อย เราก็ได้ทำดี
ไม่เหมือนเขา ที่แค่คิดดี ยังทำไม่ได้เลย

-พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) นักเทศน์ นักเขียนแนวหน้าแห่งประเทศไทย

การทำความความดีที่ยิ่งใหญ่อะไรสักอย่าง จะนำมาพร้อมกับคำนินทาเสมอ แต่จงถือเป็นเรื่องธรรมดา จงคิดว่าเราคือพ่อพระ ส่วนเขาเหล่านั้นคือนักบาป ปัจจุบันนี้เวลาจะทำดีหรือทำสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสั่งคม มีประโยชน์ต่อโลก คนมักรู้กันว่องไวและจะมาพร้อมกับคำพูดลบ ๆ เสมอ เพราะปัจจุบันนี้มีสื่อโซเชียลที่ไว  เพราะฉะนั้นอย่าเก็บเป็นความในใจเด็ด จนทำหน้าที่ของการเป็นคนดี การเป็นคนที่มีประโยชน์โลกและสังคมต่อไป ถึงแม้คนจะมองว่าสร้างภาพหรือรุมด่าก็ตาม เมื่อถึงจุดหนึ่งคนเหล่านี้ คนเหล่านี้ก็เป็นคนที่ขอเงินจากรัฐบาลต่อไป ขณะที่เราแบ่งปันสิ่งต่าง ๆ ให้สังคมแล้วมากมาย ตามหลักคำสอนพระพุทธศาสนา จะสอนว่าให้รู้จักใช้ขันติ คือความอดทนและปัญญาในการไต่ตรอง สิ่งไหนที่เข้ามามีแนวโน้มว่าจะทำลายชีวิตเราก็ลบทิ้งมันไป สิ่งไหนดีก็อย่าไปหลงมากเกินไป งานที่ยิ่งใหญ่จะมาพร้อมกับอุปสรรคเสมอ อยู่เราว่าเป็นนักสู้มากขนาดไหน